Turkey History

ประเทศตุรกี มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาพในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก ตุรกี มีพรมแดนติดต่อกันกับ 8 ประเทศได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและ ดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของเซอร์ไบจานทางตะวันออกประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรีย ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ประเทศกรีซทางตะวันตกทะเลยดำอยูทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลทีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลียและยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่ของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง

Turkey History

 

ในประเทศตุรกีมีผู้ที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ในยุคหินเก่าและภายหลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนแห่งนี้ก็ได้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อกันมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนแปลงเข้ามาสู่ในช่วงของ จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตรวรรษที่ 11 โดยมีการเริ่มเข้ามาสู่กระบวนการทำให้เป็นเติร์กที่มีการเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ ยุทธการที่มันซเคิร์ต ค.ศ. 1071 รัฐสุลต่านรูมเซลจุคปกครองอานาโตเลียจนมองโกลบุกครองใน ค.ศ. 1243 ที่ได้มีการกลายมาเป็นเบย์ลิก (beylik) เติร์กเล็ก ๆ ในหลายแห่ง

ประวัติประเทศตุรกี

เข้าช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ออตโตมันได้มีการรวมอานาโตเลียและได้มีการสร้างจักรวรรดิที่กินพื้นที่กว้างใหญ่ของยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันตกและแอฟริการเหนือ ได้กลายมาเป็นมหาอำนาจในยูเรเซียและทวีปแอฟริการะหว่างสมัยใหม่ตอนต้น จักรววรรดิเรืองอำนาจถึงขีดสุดระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15-17  ยิ่งเป็นช่วงของสุลต่านสุลัยมานผู้เกรียงไกรที่ในปี ค.ศ. 1683 หลังการล้อมเวียนนาครั้งที่สองของออตโตมันและยังเป็นการสิ้นสุดของมหาสงครามเติร์กใน ค.ศ. 1699จักรวรรดิออตโตมันได้เข้ามาสู่ในระยะที่เสื่อมอันแสนจะยาวนาน

ประวัติประเทศตุรกี

ในส่วนของทางด้านการปฏิรูปเทนซิมัตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ได้มีการมุ่งประเด็นที่ทำให้รัฐออตโตมันล้ำสมัยแต่ก็ไม่เพียงพอต่อหลายสาขาและไม่สามารถที่จะหยุดยั้งในการสลายของจักรวรรดิได้ ในสงครามครั้งที่หนึ่งที่จักรวรรดิออตโตมันได้เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วยโดยที่เข้ากับทางฝ่ายมหาอำนาจกลางแต่ก็ได้พ่ายแพ้ไปในที่สุดและในระหว่างของสงครามนี้เองที่ทางด้านรัฐบาลออตโตมันได้ก่อความป่าเถื่อนอันใหญ่หลวง เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อพลเมืองมาร์มีเนีย อัลซีเรียและกีรกพอนทัสและในภายหลังที่สงครามสิ้นสุดลง ดินแดนและประชาชนกลุ่มใหญ่ที่แต่ก่อนประกอบเป็นจักรวรรดิออตโตได้มีการถูกแบ่งเป็นหลายรัฐใหม่ ค.ศ. 1919-22 สงครามประกาศอิสรภาพตุรกีที่ทางด้านของ มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์กและเพื่อนร่วมงานในอานาโตเลียที่ได้เป็นผู้ริเริ่ม ส่งผลทำให้ได้มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1923 และก็ได้ทางอตาเติร์กขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนแรก

ประชากร

ช่วงปี พ.ศ. 2550 ประชากรของตุรกีมี 70.5 ล้านคนและความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 92 คนตารางกิโลเมตรโดยที่ประชากรที่มีเชื้อสายตุรกีมีอยู่ประมาณ 50 -55 ล้านคนและยังมีชนชาติอื่นๆ ดังนี้ ซาซา บอสเนีย,ชาวเคิร์ด, เซอร์ซาสเซียน ,จอร์เจีย.โรมา,อาหรับ, อัลเบเนีย, และอีก 3 ชนชาติที่ได้รับการยอมรับจากทางการเช่น ยิว กรีก อาร์มีเนีย  และชาวเคิร์ดก็นับว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดและอาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ  ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวตุรกีก็ได้อพยพไปยุโรปตะวันตกเป็นจำนวนมากและกลายเป็นจุดมุ่งหมายของผู้อพยพจากประเทศข้างเคียงไปด้วย

ในประเทศตุรกีจะมีการใช้ภาษาเดียวคือ ภาษาตุรกี ที่ยังคงเป็นภาษาที่ใช้พูดกันในหลายๆ  พื้นที่ ในยุโรปเช่น ไซปรัส และยังมีผู้ที่ใช้ภาษาตุรกีมากว่าสองล้านคนที่อยู่ในเยอรมนี ฝรั่งเศล เบลเยี่ยม ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอแลนด์ และสหราชอาณาจักร  โดยที่ร้อยละ 99 ที่นับถือศาสนาอิสลาม และที่เหลือก็จะเป็นคริสต์ นิกายอีสเทิร์นโธดอกซ์  นิกายโรมมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์ และยิว

 แต่งงาน

โดยพื้นฐานของทางด้านสังคมประเทศตุรกีก็จะมีลักษณะที่เป็นแบบครอบครัวขยายที่มีความสัมพันธ์กันทั้งสายเลือดและแต่งงานและมีการยึดถือการสืบทอดจากฝ่ายชายที่ผู้ชายจะเป็นหัวหน้าครอบครัวแต่ ณ ปัจจุบันก็จะมีการส่งเสริมเกี่ยวกับเรื่องของความเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้นโดยที่ผู้หญิงก็สามารถที่จะออกไปทำงานนอกบ้านได้ส่วนทางด้านของการศึกษาในประเทศนี้ก็จะเป็นแบบภาคบังคับและจะไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียนกับนักเรียนตั้งแต่อายุ 6 -15 ปี  ถ้าคิดเป็นอัตราการรู้หนังสือร้อยละ79.6 ในผู้หญิง ร้อยละ 95.3 ในผู้ชายและเฉลี่ยรวมร้อยละ 87.4  แต่การที่อัตราของผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชายก็เป็นเพราะว่าในเขตของชนบทก็ยังคงมีความคิดในแบบเก่า ๆ ที่ไม่ค่อยนิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือนั่นเอง